ธรรมบรรยาย

ลำดับที่ ๕ ชุด ธรรมะสู่การเมือง

จริยธรรม-ภาวะผู้นำ ช่วงที่ ๒

ความยาว ๑:๐๓:๒๑ ชั่วโมง

ภาษาไทย
อยู่ในชุดธรรมะสู่การเมือง
ข้อมูลเบื้องต้น

[00:00:53] พระพุทธเจ้า ผู้เป็นแบบอย่างผู้นำ ผู้เป็นกัลยาณมิตร
[00:07:50] ผู้นำมีปัญญา มองกว้าง คิดไกล ใฝ่สูง
[00:21:29] ผู้นำเข้าถึงธรรม วินัยจัดวาง สังคมสามัคคี
[00:27:00] ผู้นำบูรณาการ พรหมวิหารธรรม สร้างโลกสมดุล
[00:42:35] ผู้นำใจพรหม ประสานหมู่ชนเดินทาง ร่วมจิตปฏิบัติการ ครบหลักธรรมสู่สามัคคี
[00:54:46] ไตรสิกขาพัฒนาคุณสมบัติของผู้นำทั้ง ๓ ด้าน
[00:58:15] หลักสำคัญของผู้นำ คือ มีกัลยาณมิตร และไม่ประมาท
[00:60:49] ผู้คนเป็นธรรมาธิปไตย สังคมเป็นประชาธิปไตย สู่ผู้นำในสังคมประชาธิปไตย

----------------------------------

[00:00:53] ความเป็นผู้นำนี้ พระพุทธเจ้าเป็นตัวอย่าง … เราเรียกพระองค์ว่า “นายโก” โลกนายโก ก็คือ ผู้นำของสังคม หรือผู้นำโลก ... แล้วความเป็นนายกอันนี้ก็ออกมาเป็นสรณะ เป็นที่พึ่ง เป็นที่เตือนใจระลึก ... นี่คือ ลักษณะผู้นำ ... เป็นบุคคลที่เราเรียกว่า “กัลยาณมิตร”

[00:07:50] … ลักษณะที่เด่นของผู้นำอันหนึ่งคือปัญญา … ปัญญาที่ชัดเจน ชัดเจนในจุดหมาย ชัดเจนในหลักการ และต้องรู้วิธีการด้วย …

[00:44:38] ผู้นำเหมือนสารถี ขับรถพาไป ให้รถต้องไปด้วยกัน ไม่ใช่ไม่มีตัวสลักลิ่ม แล้วก็เลยกระจัดกระจาย เสี่ยงล้อไปทาง อะไรต่ออะไร ยาง ตัวถัง ไปคนละทิศละทาง อย่างนั้นไม่ได้ ต้องรวมประสาน … เพราะฉะนั้นผู้นำก็เลยต้องครบทั้งพรหมวิหาร ๔ และสังคหวัตถุ ๔

[00:60:49] … ในสังคมประชาธิปไตย เมื่อมีรูปแบบก็ต้องมีเนื้อหาสาระ ... รูปแบบก็คือประชาธิปไตย แล้วเนื้อหาคุณสมบัติในคนก็ต้องมีธรรมาธิปไตย … ถ้าคนเป็นธรรมาธิปไตย ก็ยึดถือธรรมเป็นใหญ่ ยึดถือความจริง ความถูกต้อง ความดีงาม ประโยชน์สุขที่แท้เป็นใหญ่ … มันก็ทำให้สังคมดำเนินไปด้วยดี ประชาธิปไตยก็เป็นไปได้ … ธรรมาธิปไตยเป็นของบุคคล ประชาธิปไตยเป็นระบบของสังคม … สองอันนี้ต้องมาประสาน พอประสานก็ได้ผลเลย ธรรมาธิปไตยมีขึ้นแล้ว … ประชาธิปไตยก็เดินไปได้ อันนี้ก็เลยกลายเป็น “ผู้นำในสังคมประชาธิปไตย”

----------------------------------

ที่มาจาก ธรรมกถา ปาฐกถา
เรื่องที่ควรฟังก่อนจริยธรรม-ภาวะผู้นำ ช่วงที่ ๑
เรื่องที่ต่อเนื่องจริยธรรม-ภาวะผู้นำ ช่วงที่ ๓
เนื้อหาในเว็บไซต์นอกเหนือจากไฟล์หนังสือและไฟล์เสียงธรรมบรรยาย เป็นข้อมูลที่รวบรวมขึ้นใหม่เพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ โดยมิได้ผ่านการตรวจทานจากสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
ผู้ใช้พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือหรือเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง