ธรรมบรรยาย

ลำดับที่ ๒๑ ชุด วิกฤตบ้านเมืองวันนี้ โอกาสที่มีควรเป็นของใคร?

เรื่องพ่วงที่ ๘ จะสมานฉันท์ ต้องสมานปัญญา

ความยาว ๐:๒๒:๐๖ ชั่วโมง

ภาษาไทย
อยู่ในชุดวิกฤตบ้านเมืองวันนี้ โอกาสที่มีควรเป็นของใคร?
ข้อมูลเบื้องต้น

[09:29] รู้กัน แล้ว รู้ทัน
[11:23] รู้เข้าใจ ศรัทธา สามัคคี
[13:08] รู้ภาษา...จริงหรือ
[22:17] แข็งร้าย แข็งดี แข็งกระด้าง แข็งมั่นคง
[26:39] สมานศรัทธา สมานสามัคคี สมานปัญญา

----------------------------------

[10:36] พอศรัทธาร่วมกันแล้วสามัคคีก็เกิดได้ หรือว่ามีศรัทธา มีความซาบซึ้งในคุณความดีอะไรต่างๆอย่างเดียวกันนี่จิตในมันก็รวมกันเอง เพราะฉะนั้นศรัทธานี่มารวมกันเข้าสามัคคีก็เกิดแน่นอน เพราะฉะนั้นใช้คำว่ารวมศรัทธาก็เท่ากับว่าลงลึกไปถึงเหตุปัจจัยของความสามัคคีนั้นอีกทีหนึ่ง ทีนี้ศรัทธาจะรวมกันได้เป็นเรื่องของจิตใจที่ว่าแล้วก็มีความเชื่อร่วมกัน แต่ว่าถ้าจะให้ดียิ่งกว่าความเชื่อก็คือว่า ศรัทธาหรือความเชื่อนั้นเกิดจากปัญญาด้วย เกิดจากความรู้ความเข้าใจ พอเรามีความรู้ความเข้าใจอะไรต่างๆเนี่ย รู้เข้าใจหลักพระศาสนาร่วมกัน รู้ว่าอะไร เรามีอะไรต่ออะไรร่วมกันต่างๆเหล่านี้ ยิ่งจะทำให้ศรัทธานั้นแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น แล้วความสามัคคีก็ยิ่งได้ผลมากขึ้น มั่นคงยิ่งขึ้นด้วย

[19:28] เราก็มีบรรพบุรุษที่เหมือนๆกันเสมอกัน เป็นชาวพุทธมาเหมือนกัน ใช้ภาษาสันสกฤตร่วมกัน เยอะแยะไป แล้วเราก็เป็นชาวเซาท์อิสต์เอเชียเหมือนกัน มีจุดร่วมกัน แล้วเราก็เป็นชาวอาเซียเหมือนกัน ขยายออกไป เราก็เป็นชาวโลกเดียวกัน เราก็ร่วมโลกเดียวกัน เออไปๆมาๆเราก็มีความเป็นมนุษย์เหมือนกัน แล้วเรา ไปๆมาๆเราก็อยู่ใต้กฎธรรมชาติเดียวกันก็ร่วมเกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกัน จุดร่วมต่างๆมันเยอะไปหมด นี่แหล่ะปัญญามันทำให้รู้ เมื่อรู้กว้างออกไปมันก็มีแต่รวมกัน มันมีจุดรวมหลายระดับ แล้วจะไปทะเลาะกันทำไม

ที่มาจาก สนทนาธรรมกับโยม แก่ โยมญาติมิตร สาธุชนที่มาร่วมงานทำบุญ นำโดย ประภาศรี บุณยประสิทธิ์ ประธานคณะเจ้าภาพฯ ณ วัดญาณเวศกวัน
เรื่องที่ควรฟังก่อนเรื่องพ่วงที่ ๗ โลกเดี๋ยวนี้ขัดแย้งกันมากมาย จะแก้ไขไหวหรือ
เรื่องที่ต่อเนื่องเรื่องพ่วงที่ ๙ ตอบคำถามเรื่อง การสมานฉันท์
เนื้อหาในเว็บไซต์นอกเหนือจากไฟล์หนังสือและไฟล์เสียงธรรมบรรยาย เป็นข้อมูลที่รวบรวมขึ้นใหม่เพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ โดยมิได้ผ่านการตรวจทานจากสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
ผู้ใช้พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือหรือเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง