ความเป็นบัณฑิตอยู่ที่ไหน ก็อยู่ที่คุณสมบัติในตัวคน และการสร้างคุณสมบัติของตัวคนนี่แหละ ที่เป็นเป้าหมายของวิชาศึกษาทั่วไป เราเอาคำว่าบัณฑิตมาใช้ แสดงว่าเราให้ความสำคัญแก่คุณสมบัติในตัวคน ที่จะให้เขาเปลี่ยนแปลงจากคนเปล่าๆ ที่ไม่มีคุณสมบัติ หรือจากคนเดิม ที่ไม่พร้อมจะอยู่จะทำอะไร มาเป็นคนที่มีคุณสมบัติเป็นบัณฑิต
จุดมุ่งหมายของการศึกษาทั่วไป
ภาษา | ไทย |
---|---|
ประเภท | ผู้อื่นเรียบเรียง |
เรียบเรียงบางส่วนจาก |
การศึกษาเพื่อสร้างบัณฑิต หรือ การศึกษาเพื่อเพิ่มผลผลิต ศิลปศาสตร์แนวพุทธ |
ข้อมูลพัฒนาการ | (หนังสือเรื่องการศึกษาทั่วไปเพื่อสร้างบัณฑิต) เป็นงานของคณะผู้จัดการเรียนการสอนหมวดวิชาศึกษาทั่วไป เพื่อสนองนโยบายของมหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งได้ขอนําหนังสือ ๒ เล่ม (ศิลปศาสตร์แนวพุทธ, การศึกษาเพื่อสร้างบัณฑิต หรือ การศึกษาเพื่อเพิ่มผลผลิต) มาจัดพิมพ์รวมกัน แต่คงเป็นเพราะว่าถ้านําเนื้อหามารวมครบเต็มทั้งสองเล่ม หนังสือจะหนามากจึงนําเนื้อหาของเล่มที่ ๑ (ศิลปศาสตร์แนวพุทธ) มาประมาณครึ่งเล่ม กล่าวคือหนังสือ ศิลปศาสตร์แนวพุทธนั้น มี๓ บทใหญ่ ท่านผู้ทํางานนํามาเฉพาะบทที่ ๒ (เว้นบทที่ ๑ และบทที่ ๓ คือตัดออกไป ๔๒ หน้า) และนําไปไว้ต่อท้ายเล่มที่ ๒ (การศึกษาเพื่อสร้างบัณฑิต หรือการศึกษาเพื่อเพิ่มผลผลิต) แล้วตั้งชื่อหนังสือฉบับรวมเล่มนั้นใหม่ว่าการศึกษาทั่วไปเพื่อสร้างบัณฑิต พิมพ์ครั้งแรก มิ.ย.๒๕๕๐ โดยมหาวิทยาลัยมหิดล (ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๕ – ก.ย. ๕๙ มีความสับสน เนื้อเป็นเล่มที่ ๓ แต่ปกเป็นเล่มที่ ๒) จึงเป็นอันว่า ท่านผู้จัดพิมพ์ใหม่อาจเลือกพิมพ์เล่มใดเล่มหนึ่ง หรือถ้าจะพิมพ์ให้ครบบริบูรณ์ก็พิมพ์เล่มที่ ๑ และเล่มที่ ๒ (ถ้าจะพิมพ์ทั้งสองเล่ม แต่ไม่ต้องบริบูรณ์ มีเฉพาะส่วนที่เลือกก็สามารถพิมพ์เล่มที่ ๓ เล่มเดียว)
|
---|---|
พิมพ์ครั้งแรก | มิถุนายน ๒๕๕๐ |
พิมพ์ล่าสุด | ครั้งที่ ๕ กันยายน ๒๕๕๙ |
ISBN | ยังไม่มีข้อมูล |
เลขหมู่ | ยังไม่มีข้อมูล |