รู้จักพระไตรปิฎก เพื่อเป็นชาวพุทธที่แท้

...เมื่อพูดถึงขั้นนี้ก็รวมความได้ว่า พระไตรปิฎก ก็คือที่รวบรวมพระธรรมวินัย อันได้แก่คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ที่เรียกว่าเป็นพระพุทธศาสนา  ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ว่า  นี่แหละคือศาสดาของชาวพุทธทั้งหลาย  เราจึงได้ถือกันมาเป็นหลักว่า  จะต้องรักษา  แล้วก็เล่าเรียน  และปฏิบัติตามหลักคำสอนในพระไตรปิฎกนี้...

...พร้อมกันนั้นก็ใช้คำสั่งสอน  คือ พระธรรมวินัยในพระไตรปิฎกนี้แหละ เป็นหลักเป็นเกณฑ์มาตรฐานในการตัดสินความเชื่อและการประพฤติปฏิบัติของพุทธศาสนิกชนทั้งหลายว่า  เป็นพระพุทธศาสนาหรือไม่ ถ้าไม่เป็นไปตามที่ได้รวบรวมประมวลสังคายนาท และรักษาสืบต่อไว้ในพระไตรปิฎก หรือคลาดเคลื่อนจากนั้น ก็ไม่ใช่พระพุทธศาสนา ถ้าถูกต้องตามนั้นก็เป็นพระพุทธศาสนา...

...สิ่งที่เราเล่าเรียนปฏิบัติ ไม่ว่าจะเป็นด้านวินัยของพระภิกษุสงฆ์ เช่น การบวช การมีโบสถ์ การสร้างกุฏิ การกรานกฐิน และสังฆกรรมต่างๆ การใช้ไตรจีวรของพระภิกษุ การที่พระภิกษุทำอะไรได้หรือไม่ได้ การที่จะต้องอาบัติต่างๆ มีปาราชิก เป็นต้น หรือการที่ชาวบ้านจะทำบุญทำทาน คำว่าทานก็ดี เรื่องศีล เรื่องสมาธิ เรื่องปัญญา ไตรสิกขา ภาวนาต่างๆ ขั้นธ์ ๕ ไตรลักษณ์ อริยสัจจ์ ตลอดถึงพระนิพพาน ก็ล้วนมาจากพระไตรปิฎกทั้งนั้น ถ้าไม่มีพระไตรปิฎก เราก็ไม่รู้จักถ้อยคำเหล่านี้เลย และพระภิกษุก็ไม่มีมาตรฐานที่จะวัดว่าตัวประพฤติปฏิบัติอย่างไรถูก อย่างไรผิด อะไรเป็นอาบัติปาราชิก อะไรเป็นอาบัติสังฆาทิเสส ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์...

...ไม่มีพระไตรปิฎกเสียอย่างเดียว เป็นอันหมดสิ้น คือ หมดสิ้นพระพุทธศาสนานั่นเอง...

ภาษาไทย
ที่มาจาก ธรรมกถา ปาฐกถา แก่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ฉายในวันสมโภชพระไตรปิฎก ณ วัดญาณเวศกวัน (การถ่ายทำวิดีทัศน์) เมื่อ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๒
เรียบเรียงบางส่วนจาก พระไตรปิฎกและอรรถกถาฉบับคอมพิวเตอร์
ความสำคัญและการรักษาพระไตรปิฎก
ข้อมูลพัฒนาการ
เป็นหนังสือที่รวบรวมคำบรรยายและข้อเขียนเกี่ยวกับพระไตรปิฎก ๓ ตอน คือ
  • บทปาฐกถาธรรม โดยวีดิทัศน์ ถ่ายทำที่วัดญาณเวศกวัน ฉายในวันสมโภชพระไตรปิฎก ฉบับแปลภาษาไทย ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เมื่อวันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๒
  • คำตอบอธิบายว่าพระไตรปิฎกสําคัญอย่างไร เมื่อวันที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๔๒ และ
  • “โครงสร้างและสาระสําคัญของพระไตรปิฎก” ซึ่งเป็นตอนหนึ่งในหนังสือ พระไตรปิฎกและอรรถกถาฉบับคอมพิวเตอร์ พร้อมด้วยโปรแกรมเรียกค้นข้อมูลจากคัมภีร์ (BUDSIR) ที่สำนักคอมพิวเตอร์มหาวิทยาลัยมหิดล พิมพ์เผยแพร่เมื่อเดือนธันวาคม ๒๕๓๕
พิมพ์ครั้งแรกเมษายน ๒๕๔๓
พิมพ์ล่าสุดครั้งที่ ๙ ๒๕๔๖
ISBN974-7891-97-2
เลขหมู่BQ1173

หนังสือที่เกี่ยวข้องกัน

พบหนังสือธรรมะ 3 เรื่อง
เนื้อหาในเว็บไซต์นอกเหนือจากไฟล์หนังสือและไฟล์เสียงธรรมบรรยาย เป็นข้อมูลที่รวบรวมขึ้นใหม่เพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ โดยมิได้ผ่านการตรวจทานจากสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
ผู้ใช้พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือหรือเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง