ความสุขอยู่ที่นี่ มัวไปหากันที่ไหน

เนื้อหาโดยตลอดพระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต) ท่านได้ไขข้อข้องใจและความไม่เข้าใจให้แจ่มแจ้งตามลำดับ ไม่ว่าบุญกิริยาวัตถุ ๓ หรือ ๑๐ ที่มี ทาน ศีล ภาวนาเป็นหลักอย่างเดียวกับ ศีล สมาธิ ปัญญา หรือการฝึกฝนและพัฒนากาย วาจา จิตใจ และ ปัญญาในไตรสิกขา ที่เน้นต่างกันที่ภายนอกและภายใน เหมาะแก่คฤหัสถ์หรือบรรพชิต...

ท่านตั้งประเด็นว่า "ปฏิบัติโดยไม่มีปริยัติ จริงหรือ" พร้อมกับคำเฉลยรวมความสุดท้ายว่า "ไม่ใช่ถามว่าปริยัติต้องมีหรือไม่ แต่ควรถามว่า ปริยัติจะเอาแค่ไหนและจะรับเอามาอย่างไร" จนแม้กระทั่ง "ความอยากของผู้ปฏิบัติธรรมนั้น ควรมีหรือไม่ให้มีกันแน่ และมีวิธีปฏิบัติอย่างไร" จนกระทั่ง "จะวัดความสำเร็จของการปฏิบัติธรรมด้วยอะไร" "ใช้แรงขับเคลื่อน และ เครื่องช่วยอะไรได้บ้าง" ก่อนที่จะเข้าสู่ "หลักการและหลักพุทธธรรมเพื่อการปฏิบัติธรรม" และ "สมาธิแบบพุทธ" ที่ถูกทางซึ่งจะทำให้จิตมีกำลัง สุขสงบ ใสและขยายปัญญา มีแม้กระทั่ง "วิธีป้องกันและแก้ไขโทษของสมาธิ"

Developmentดำริเดิมนั้นมาจากความต้องการพิมพ์หนังสือเกี่ยวกับธรรมที่ให้เยาวชนอ่านเข้าใจง่าย ซึ่งเป็นหนังสือที่รวบรวมเรื่องศีล สมาธิ ปัญญา หรืออีกนัยหนึ่งคือกิริยาวัตถุสาม ทาน ศีล ภาวนา โดยนำมาจากหนังสือของพระเดชพระคุณอาจารย์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต) เริ่มต้นจากก้าวไปในบุญ และต่อด้วยปฏิบัติธรรมให้ถูกทาง เชื่อมด้วยสมาธิแบบแนวพุทธ จบลงด้วยทุกข์สำหรับเห็น แต่สุขสำหรับเป็น น่าจะเป็นแนวทางที่จะให้คนรุ่นใหม่หันมาสนใจในศาสนาได้ ไม่มากก็น้อย

เดิมทีส่วนตัวข้าพเจ้าตั้งใจจะใช้ชื่อว่า "รู้ทำ ลุธรรม" ซึ่งหมายถึง เมื่อรู้ที่จะทำ ท้ายที่สุดต้องบรรลุธรรม เมื่อนำความนี้ไปกราบเรียนปรึกษาท่านพระเดชพระคุณอาจารย์ ท่านก็เมตตาตั้งชื่อให้ใหม่ว่า "ความสุขอยู่ที่นี่ มัวไปหากันที่ไหน" ชื่อหนังสือที่เหมาะสมกับยุคสมัยนี้อย่างยิ่ง กระบวนการจัดทำจึงเริ่มต้นขึ้นโดยส่งชื่อเรื่องไปปรึกษาบริษัทการพิมพ์ใหญ่แห่งหนึ่งเพื่อออกแบบปก รูปปกที่ได้ไม่ถูกใจนัก ส่งไปยังสำนักพิมพ์ที่พิมพ์หนังสือพระเดชพระคุณอาจารย์เป็นประจำ ได้รูปภาพปกที่สวยงาม หากความงามของภาพกับชื่อหนังสือไม่สอดคล้องกัน ท้ายที่สุดจึงหันกลับมาที่หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ ให้ที่นี่เป็นผู้จัดทำทั้งเรื่อง ต้นฉบับ และออกแบบภาพประกอบปกและเนื้อใน ระยะเวลาที่เริ่มคิดและทำจนถึงวันนี้ล่วงไปมากกว่า ๔ ปี

เนื่องจากพระเดชพระคุณอาจารย์ อาพาธมาตลอด ท่านปรารภด้วยความเมตตาว่า การเขียนอธิบายความเรื่องที่พิมพ์ทั้งสี่เรื่องนี้เข้าด้วยกันไม่ใช่เรื่องยาก ขอเพียงมีเวลาและสุขภาพท่านอำนวย ท่านจะทำให้ หลังจากนั้นผ่านไปอีก ๑ ปี จนหนังสือเล่มนี้ล่วง ๕ ปี ประจวบกับพระเดชพระคุณอาจารย์รับนิมนต์ไปพักรักษาตัวที่ประเทศเยอรมนี ข้าพเจ้าจึงขอก้าวล่วงพระเดชพระคุณอาจารย์ในการคาดเจตนาตั้งชื่อหนังสือของท่าน ว่าท่านคงต้องการกระตุ้นให้เยาวชนหันกลับมาสนใจในเรื่องของธรรม...(สุรเดช พรทวีทัศน์)

พิมพ์ครั้งที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๕๖ โดย กองทุนเกื้อโลก (ป. อ. ปยุตฺโต) มูลนิธิหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ

พิมพ์ครั้งที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ ได้นำบทคัดย่อ "การพัฒนาชีวิตด้วยปัญญา" ที่เก็บและเรียงความจากธรรมบรรยาย "ธรรมกับการพัฒนาชีวิต" มาเพิ่มอีกบทความหนึ่ง
First publishingDecember 2556
Latest publishing onPublishing no. 3 January 2559
ISBN978-616-7574-13-4
Dewey no.No related data

หนังสือที่เกี่ยวข้องกัน

Found matched 4 books
The content of this site, apart from dhamma books and audio files, has not been approved by Somdet Phra Buddhaghosacariya.  Such content purpose is only to provide conveniece in searching for relevant dhamma.  Please make sure that you revisit and cross check with original documents or audio files before using it as a source of reference.