...การเรียนที่ว่าเป็นแบบท่องจำนี้
ไม่ต้องสืบไปถึงเรื่องเถรวาทหรอก
เป็นเรื่องตื้นๆในสังคมไทยเราเอง
เป็นเรื่องของวิถีไทย
ซึ่งเกิดขึ้นจากสภาพแวดล้อม
ความเปลี่ยนแปลงทางสังคม
ในการรับระบบการศึกษาแบบตะวันตก
ที่ไปไม่ถึงสาระของเขา
เช่นเดียวกับการละทิ้งสาระของเรา...
...นิพพานก็ไม่เป็นอัตตา ขันธ์ ๕ ก็ไม่เป็นอัตตา
ไม่ได้มีอัตตาแท้จริงอยู่ที่ไหนทั้งนั้น ไม่ใช่ว่าขันธ์ ๕ เป็นไป
จะมีอัตตาขึ้นมา ไม่ได้มีอัตตาที่จะเกิดขึ้นและดับสลายไป อัตตาไม่มี
มีแต่การยึดถือว่า
มีอัตตา คืออัตตามีอยู่เพียงในการยึดถือ
เมื่อหมดการยึดถือ การยึดถือหายไป อัตตาที่ไม่มี
ก็ไม่มีไปตามเดิมภาพอัตตาก็หายไป เพราะฉะนั้น คำว่า “อัตตา” นี้ ในบาลี
เมื่อแปลลึกลงไป จึงหมายถึงการ
ยึดถืออัตตา เช่น
ในพุทธพจน์ที่ตรัสเรียกพระอรหันต์ว่าเป็น “อัตตัญชโห” แปลแค่ตามรูปศัพท์ว่า
“ผู้ละอัตตา” แต่ความหมายคือ “ผู้ละไร้ความยึดถืออัตตา”
เพราะไม่มีอัตตาที่จะไปละ เมื่อละความ
ยึดถืออัตตาได้ อัตตาที่ไม่มีอยู่แล้วก็หมดภาพที่สร้างใส่ให้ไว้แก่ชื่อของมัน ภาพอัตตาที่ยึดไว้ถือมาก็ลับตาหายไป...
Language | Thai |
---|---|
Combined from |
ฅนไทย ใช่กบเฒ่า? เถรวาท vs. ลัทธิอาจารย์ พระไทยใช่เขาใช่เรา? (นิพพาน-อนัตตา: ฉบับเพียงเพื่อไม่ประมาท) |
First publishing | February 2553 |
---|---|
Latest publishing on | Publishing no. 2 September 2553 |
ISBN | No related data |
Dewey no. | No related data |