..."แต่อย่างน้อยเมื่อมาบวช เราตั้งใจประพฤติให้ดีที่สุด ให้คุณพ่อคุณแม่ระลึกถึงเราแล้วก็เกิดความอิ่มใจมีความสุข พอนึกถึงลูกบวชเป็นพระอยู่ที่วัด รู้ว่าลูกตั้งใจศึกษาธรรมวินัย อยู่ในศีล ประพฤติดีงาม พอระลึกถึงลูก ระลึกถึงพระศาสนา จิตใจก็เอิบอิ่มมีความสุข พอเห็นลูกห่มผ้าเหลือง สำรวมเรียบร้อยมาบิณฑบาต จิตใจพ่อแม่ก็ได้ปีติ มีความอิ่มใจอีก เห็นลูกเมื่อไร ระลึกถึงลูกเมื่อไร ก็มีความสุขเมื่อนั้น นี่แหละถือว่าตอบแทนคุณของพ่อแม่อย่างดีที่สุด"...
การบวช คือ "บรรพชา" นั้น แปลความหมายง่ายๆว่า เว้น สละ ละได้ทั่วๆ ไป หมายความว่า สละสิ่งที่ไม่ดีงาม หรือบาปอกุศลต่างๆ เป็นเรื่องของการฝึกฝนพัฒนาตนเอง เพราะว่าอกุศล สิ่งไม่ดี หรือบาปต่างๆนั้น ไม่ใช่ว่าจะละได้ง่ายๆ บางทีละภายนอกแล้วแต่ภายในยังละไม่ได้ ละทางกายแล้วก็ยังติดอยู่ในใจ กว่าจะละทางใจได้ต้องฝึกฝนพัฒนากันมาก การบวชนี้จึงถือว่าเป็นการฝึกฝนตนเอง คือการศึกษาที่จะพยายามละหรือขจัดกิเลส สิ่งเศร้าหมองจิต ความชั่วร้ายต่างๆ ให้หมดไป
คำสอนของพระพุทธเจ้าในสิงคาลกสูตรนี้ ชาวพุทธทุกคนควรให้ความสำคัญ และนำมาปฏิบัติกันอย่างจริงจัง ให้สมกับที่ท่านเรียกว่า เป็นวินัยของคฤหัสถ์ เท่ากับเป็น มาตรฐานชีวิตของชาวพุทธ หรือเป็น เกณฑ์วัดความเป็นชาวพุทธ คนที่มีความประพฤติทั่วไปตามเกณฑ์มาตรฐานนี้จึงจะเรียกได้ว่า เป็น "ชาวพุทธ"
Language | Thai |
---|---|
Source | from ธรรมกถา ปาฐกถา for นาคสุรเดช พรทวีวัฒน์ นาคหม่อมหลวงโอรส เทวกุล และนาคจักรพันธ์ มากเทพวงศ์ at วัดพระพิเรนทร์ กรุงเทพมหานคร on/in 25 July 2542 |
Combined from |
มาตรฐานชีวิตของชาวพุทธ สอนนาค (คำสอนในพิธีอุปสมบท) |
Development |
|
---|---|
First publishing | August 2542 |
Latest publishing on | Publishing no. 32 February 2564 |
ISBN | 974-87104-5-9, 974-7891-91-3, 974-453-606-3 |
Dewey no. | BQ5220 |