รู้จักพระไตรปิฎก เพื่อเป็นชาวพุทธที่แท้

...เมื่อพูดถึงขั้นนี้ก็รวมความได้ว่า พระไตรปิฎก ก็คือที่รวบรวมพระธรรมวินัย อันได้แก่คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ที่เรียกว่าเป็นพระพุทธศาสนา  ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ว่า  นี่แหละคือศาสดาของชาวพุทธทั้งหลาย  เราจึงได้ถือกันมาเป็นหลักว่า  จะต้องรักษา  แล้วก็เล่าเรียน  และปฏิบัติตามหลักคำสอนในพระไตรปิฎกนี้...

...พร้อมกันนั้นก็ใช้คำสั่งสอน  คือ พระธรรมวินัยในพระไตรปิฎกนี้แหละ เป็นหลักเป็นเกณฑ์มาตรฐานในการตัดสินความเชื่อและการประพฤติปฏิบัติของพุทธศาสนิกชนทั้งหลายว่า  เป็นพระพุทธศาสนาหรือไม่ ถ้าไม่เป็นไปตามที่ได้รวบรวมประมวลสังคายนาท และรักษาสืบต่อไว้ในพระไตรปิฎก หรือคลาดเคลื่อนจากนั้น ก็ไม่ใช่พระพุทธศาสนา ถ้าถูกต้องตามนั้นก็เป็นพระพุทธศาสนา...

...สิ่งที่เราเล่าเรียนปฏิบัติ ไม่ว่าจะเป็นด้านวินัยของพระภิกษุสงฆ์ เช่น การบวช การมีโบสถ์ การสร้างกุฏิ การกรานกฐิน และสังฆกรรมต่างๆ การใช้ไตรจีวรของพระภิกษุ การที่พระภิกษุทำอะไรได้หรือไม่ได้ การที่จะต้องอาบัติต่างๆ มีปาราชิก เป็นต้น หรือการที่ชาวบ้านจะทำบุญทำทาน คำว่าทานก็ดี เรื่องศีล เรื่องสมาธิ เรื่องปัญญา ไตรสิกขา ภาวนาต่างๆ ขั้นธ์ ๕ ไตรลักษณ์ อริยสัจจ์ ตลอดถึงพระนิพพาน ก็ล้วนมาจากพระไตรปิฎกทั้งนั้น ถ้าไม่มีพระไตรปิฎก เราก็ไม่รู้จักถ้อยคำเหล่านี้เลย และพระภิกษุก็ไม่มีมาตรฐานที่จะวัดว่าตัวประพฤติปฏิบัติอย่างไรถูก อย่างไรผิด อะไรเป็นอาบัติปาราชิก อะไรเป็นอาบัติสังฆาทิเสส ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์...

...ไม่มีพระไตรปิฎกเสียอย่างเดียว เป็นอันหมดสิ้น คือ หมดสิ้นพระพุทธศาสนานั่นเอง...

LanguageThai
Sourcefrom ธรรมกถา ปาฐกถา for มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ฉายในวันสมโภชพระไตรปิฎก at วัดญาณเวศกวัน (การถ่ายทำวิดีทัศน์) on/in 7 November 2542
Concatenated from พระไตรปิฎกและอรรถกถาฉบับคอมพิวเตอร์
ความสำคัญและการรักษาพระไตรปิฎก
Development
เป็นหนังสือที่รวบรวมคำบรรยายและข้อเขียนเกี่ยวกับพระไตรปิฎก ๓ ตอน คือ
  • บทปาฐกถาธรรม โดยวีดิทัศน์ ถ่ายทำที่วัดญาณเวศกวัน ฉายในวันสมโภชพระไตรปิฎก ฉบับแปลภาษาไทย ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เมื่อวันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๒
  • คำตอบอธิบายว่าพระไตรปิฎกสําคัญอย่างไร เมื่อวันที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๔๒ และ
  • “โครงสร้างและสาระสําคัญของพระไตรปิฎก” ซึ่งเป็นตอนหนึ่งในหนังสือ พระไตรปิฎกและอรรถกถาฉบับคอมพิวเตอร์ พร้อมด้วยโปรแกรมเรียกค้นข้อมูลจากคัมภีร์ (BUDSIR) ที่สำนักคอมพิวเตอร์มหาวิทยาลัยมหิดล พิมพ์เผยแพร่เมื่อเดือนธันวาคม ๒๕๓๕
First publishingApril 2543
Latest publishing onPublishing no. 9 2546
ISBN974-7891-97-2
Dewey no.BQ1173

หนังสือที่เกี่ยวข้องกัน

Found matched 3 books
The content of this site, apart from dhamma books and audio files, has not been approved by Somdet Phra Buddhaghosacariya.  Such content purpose is only to provide conveniece in searching for relevant dhamma.  Please make sure that you revisit and cross check with original documents or audio files before using it as a source of reference.